สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลล์ และสถาบันยุโรปเพื่อเอเชียศึกษา ร่วมจัดงานเสวนา ขับเคลื่อน “หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับ EU”

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลล์ และสถาบันยุโรปเพื่อเอเชียศึกษา ร่วมจัดงานเสวนา ขับเคลื่อน “หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับ EU”

วันที่นำเข้าข้อมูล 27 มี.ค. 2568

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 มี.ค. 2568

| 21 view

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ และสถาบันยุโรปเพื่อเอเชียศึกษา (European Institute for Asian Studies: EIAS) ได้ร่วมกันจัดงานเสวนาในหัวข้อ “ความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป” (“Thailand-EU Strategic Economic Partnership”) ณ EIAS เนื่องในโอกาสที่นายวีระพงษ์ ประภา ผู้แทนการค้าไทย เยือนกรุงบรัสเซลส์ เพื่อพบหารือกับหน่วยงานของสหภาพยุโรป นักธุรกิจ ผู้ประกอบการเเละสมาคมการค้า โดยมีผู้เเทนจากคณะกรรมาธิการยุโรป สภายุโรป ภาควิชาการ ภาคเอกชน เอกอัครราชทูตเเละผู้เเทน จำนวน 135 คนเข้าร่วม

ที่ประชุมได้รับฟังมุมมองจากภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ นางกาญจนา ภัทรโชค เอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ เน้นย้ำความสำคัญของการเจรจาโดยมุ่งผลประโยชน์ร่วมกัน และเน้นความมุ่งมั่นของไทยในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน นายวีระพงษ์ ประภา ผู้แทนการค้าไทย เน้นท่าทีไทยที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน การสร้างความสอดคล้องของกฎระเบียบและการประสานงานระหว่างหน่วยงาน การให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถอยู่ได้ในซัพพลายเชนของโลก และการเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจที่วางใจและเชื่อถือได้ระหว่างไทย-อียู

นาย Wouter Beke ประธานกลุ่มมิตรภาพรัฐสภายุโรปกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาเซียน เน้นถึงศักยภาพของเศรษฐกิจไทยที่จะร่วมมือกับอียูในการเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจดิจิทัล นางสาว Kathleen Van Brempt รองประธานคณะกรรมการด้านการค้าระหว่างประเทศ (Committee on International Trade: INTA) รัฐสภายุโรป และผู้จัดทำรายงานเรื่องประเทศไทยในการจัดทำ FTA แสดงความกระตือรือร้นต่อโอกาสที่ไทย-อียูจะเร่งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันช่วงที่มีวิกฤติทางภูมิรัฐศาสตร์ ต้องการเห็นการเจรจาความตกลงการค้าเสรีแบบ win-win และเป็นความตกลงที่มีมาตรฐานสูง ทั้งนี้ สมาชิกรัฐสภายุโรปทั้งสองท่านนี้เพิ่งไปเยือนไทยมาเมื่อต้นปี

นาง Leila Fernandez-Stembridge ผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เน้นการใช้กลไกความร่วมมือระหว่างไทยกับอียูและอาเซียนกับอียูในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน คู่ขนานไปกับการเจรจา FTA

ดร. Olaf Wientzek ผู้อำนวยการมูลนิธิ Konrad-Adenauer-Foundation และนาย Noel Clehane รองประธานสภาธุรกิจ EU-ASEAN (EU-ASEAN Business Council: EU-ABC) เน้นความสำคัญของการเร่งรัดการเจรจา FTA ในสภาวะภูมิรัฐศาสตร์ปัจจุบัน

นาย Christophe Kiener หัวหน้าคณะเจรจา FTA ไทย-EU ฝ่าย EU เล่าความคืบหน้าการเจรจา ส่วนว่าจะเสร็จสิ้นเมื่อไรนั้น ทั้งสองฝ่ายจะเร่งรัด แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด

นาย Di-Ting Shih ประธาน CPF Europe และ ดร. Adam McCarthy เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์ และยางของยุโรป (European Tyre & Rubber Manufacturers Association: ETRMA) ให้มุมมองของภาคเอกชนต่อความสำคัญของ FTA ไทย-อียู

ปัจจุบันทั้งไทยเเละยุโรปเป็นคู่ค้า เเละผู้ลงทุนสำคัญระหว่างกัน โดยยุโรปนำเข้าสินค้าด้านอาหารเเละเกษตรจากไทย อาทิ หนึ่งในสามของยางพาราธรรมขาติทึ่ใช้ในยุโรปสำหรับผลิตล้อรถมาจากไทย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกยางพาราอันดับหนึ่งของโลก และเอกชนไทยก็เข้ามาลงทุนในยุโรปด้วย

งานเสวนาครั้งนี้จัดขึ้นก่อนการเจรจา FTA ไทย-อียู รอบที่ห้า ที่จะมีขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์ระหว่าง 31 มีนาคม - 4 เมษายน 2568 ณ กรุงบรัสเซลส์ และเป็นโอกาสในการรับฟังทัศนะของภาคส่วนต่าง ๆ จบการเสวนาด้วย high spirit และ a sense of renewed optimism มาก ๆ ขอบคุณ EIAS ผู้ร่วมจัดด้วยค่ะ

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ