วันที่นำเข้าข้อมูล 2 พ.ย. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 12 ก.ค. 2567

| 5,673 view

การสละและขอกลับคืนสัญชาติไทย

การขอสละสัญชาติไทย กรณีคนไทยสมรสกับคนต่างด้าว

ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  1. หญิงสัญชาติไทยสมรสกับคนต่างด้าว ประสงค์จะสละสัญชาติไทยไปถือสัญชาติของสามี ให้ยื่นคำขอตามแบบ ส.ช.1

        (1) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

        (2) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น

        (3) ผู้ยื่นคำขออยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานทูตหรือกงสุล ณ ที่ทำการสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้น

  1. เอกสารหลักฐานของผู้ขอ

        (1) ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรส หรือทะเบียนแห่งฐานะครอบครัว

        (2) ทะเบียนบ้าน

        (3) สูติบัตร หรือทะเบียนคนเกิด หรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด

        (4) บัตรประจำตัวประชาชน

        (5) เอกสารหลักฐานที่แสดงว่ากฎหมายว่าด้วยสัญชาติของสามีมีบทบัญญัติหรือยินยอมให้เข้าถือสัญชาติของสามีได้ (หนังสือรับรองการขอเข้าถือสัญชาติของสามี)

        (6) หนังสือเดินทาง

        (7) หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ (แบบ ช.3) (หากมี)

        (8) หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อสกุล หรือจดทะเบียนการเปลี่ยนชื่อสกุล (แบบ ช.2 หรือแบบ ช.4) (หากมี)

        (9) รูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซ.ม. (2 นิ้ว) จำนวน 12 รูป (หน้าตรงแต่งกายสุภาพ)

  1. เอกสารหลักฐานของสามีผู้ขอ

        (1) หนังสือเดินทาง

        (2) รูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซ.ม. (2 นิ้ว) จำนวน 12 รูป (หน้าตรงแต่งกายสุภาพ)

  1. ค่าธรรมเนียม

กฎกระทรวง (พ.ศ. 2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2510 ข้อ 12 (6) คำขออื่น ๆ ฉบับละ 5 บาท (ห้าบาทถ้วน)

  1. รายละเอียดเพิ่มเติม

       (1) รายการในเอกสารหลักฐานอันเป็นสาระสำคัญ ระบุข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของบุคคลต้องถูกต้องตรงกัน ถ้าไม่ถูกต้องตรงกันถือไม่ได้ว่าบุคคลตามเอกสารเป็นบุคคลคนเดียวกัน ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารนั้น เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องหรือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน

       (2) หนังสือรับรองการขอเข้าถือสัญชาติของสามี ตามข้อ 2 (5) เป็นภาษาต่างประเทศ ต้องได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและรับรองการแปลให้ถูกต้องโดยกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก

       (3) นำพยานบุคคล จำนวน 2 ปาก พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทะเบียนบ้าน เพื่อสอบปากคำรับรองยืนยันว่าผู้ขอเป็นคนมีสัญชาติไทยจริง

 

*************************************

การขอสละสัญชาติไทย กรณีเด็กไทยที่มีสองสัญชาติ และหรือคนไทยกรณีอื่นๆ

ตามมาตรา 14 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  1. ให้ยื่นคำขอตามแบบ ส.ช.2

       (1) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

       (2) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น

       (3) ผู้ยื่นคำขออยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานทูตหรือกงสุล ณ ที่ทำการสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้น

  1. เอกสารหลักฐานของผู้ขอ

       (1) สูติบัตร หรือทะเบียนคนเกิด หรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด

       (2) ทะเบียนบ้าน

       (3) บัตรประจำตัวประชาชน

       (4) หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ (แบบ ช.3) (หากมี)

       (5) หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อสกุล หรือจดทะเบียนการเปลี่ยนชื่อสกุล (แบบ ช.2 หรือแบบ ช.4) (หากมี)

       (6) ใบสำคัญทหาร (สด.9)

       (7) หนังสือรับรองสัญชาติเบลเยียมหรือลักเซมเบิร์ก

       (8) หลักฐานเอกสารไทยของบิดาและมารดา

       (9) หนังสือเดินทาง

      (10) รูปถ่ายของผู้ขอ ขนาด 4 x 6 ซ.ม. (2 นิ้ว) จำนวน 12 รูป (หน้าตรงแต่งกายสุภาพ)

      (11) รูปถ่ายของบิดา-มารดาผู้ขอ ขนาด 4 x 6 ซ.ม. (2 นิ้ว) จำนวน 2 รูป (หน้าตรงแต่งกายสุภาพ)

  1. ค่าธรรมเนียม

กฎกระทรวง (พ.ศ. 2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2510 ข้อ 12 (6) คำขออื่น ๆ ฉบับละ 5 บาท (ห้าบาทถ้วน)

  1. รายละเอียดเพิ่มเติม

       (1) รายการในเอกสารหลักฐานอันเป็นสาระสำคัญระบุข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของบุคคลต้องถูกต้องตรงกัน ถ้าไม่ถูกต้องตรงกันถือไม่ได้ว่าบุคคลตามเอกสารเป็นบุคคลเดียวกัน ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารนั้น เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องหรือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน

       (2) หนังสือรับรองของประเทศที่ได้เข้าถือสัญชาตินั้น ตามข้อ 2 (7) เป็นภาษาต่างประเทศ ต้องได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและรับรองการแปลให้ถูกต้องโดยกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียมหรือลักเซมเบิร์ก

       (3) นำพยานบุคคล จำนวน 2 ปาก พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทะเบียนบ้าน เพื่อสอบปากคำรับรองยืนยันว่าผู้ขอเป็นคนมีสัญชาติไทยจริง

       (4) ผู้ยื่นคำขอต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์

ติดต่อสอบถาม

งานสละสัญชาติไทย ฝ่ายกฎหมายและวินัย กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

ตั้งอยู่ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อาคาร 6 ชั้น 1 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร. 0-2205-2698 (ในเวลาราชการ)

ที่มา: https://sbpolice.go.th/en/page/requestingrenunciationofthainationality_127.html 

 

*************************************

 

การขอกลับคืนสัญชาติไทยกรณีสละสัญชาติไทยโดยการสมรสกับคนต่างด้าวและได้ขาดจากการสมรสแล้ว

ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ให้ยื่นคำขอตามแบบ ก.ช.2

    (1) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

    (2) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น

    (3) ผู้ยื่นคำขออยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานทูตหรือกงสุล ณ ที่ทำการสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้น

เอกสารหลักฐานของผู้ขอ

    (1) สูติบัตร หรือทะเบียนคนเกิด หรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด

    (2) ทะเบียนบ้าน (แบบ ทร.13)

    (3) ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

    (4) เอกสารหลักฐานการขาดจากการสมรส

    (5) ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรส หรือทะเบียนแห่งฐานะครอบครัว

    (6) เอกสารหลักฐานการเข้าถือสัญชาติของสามี

    (7) เอกสารหลักฐานการเสียสัญชาติไทย (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องเสียสัญชาติไทย ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว)

    (8) หนังสือเดินทาง

    (9) เอกสารหลักฐานการศึกษาในประเทศไทย (ทะเบียนนักเรียน)

    (10) เอกสารหลักฐานเคยช่วยเหลือการกุศล หรือสาธารณประโยชน์

    (11) รูปถ่ายของผู้ขอ ขนาด 4 x 6 ซ.ม. (2 นิ้ว) จำนวน 12 รูป (หน้าตรงแต่งกายสุภาพ)

ค่าธรรมเนียม

    กฎกระทรวง (พ.ศ.2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2510 ข้อ 12 (5) คำขออื่นๆ ฉบับละ 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)

รายละเอียดเพิ่มเติม

    (1) รายการในเอกสารหลักฐานอันเป็นสาระสำคัญระบุข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของบุคคลต้องถูกต้องตรงกัน ถ้าไม่ถูกต้องตรงกันถือไม่ได้ว่าบุคคลตามเอกสารเป็นบุคคลคนเดียวกัน ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารนั้น เพื่อแก้ไข่ให้ถูกต้องหรือรับรองว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน

    (2) เอกสารหลักฐานตามข้อ 2 (4), (5) และ (6) เป็นภาษาต่างประเทศ ต้องได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและรับรองการแปลให้ถูกต้อง

    (3) นำพยานบุคคล จำนวน 4 ปาก พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทะเบียนบ้าน เพื่อสอบปากคำรับรองยืนยันว่าผู้ขอเป็นคนมีสัญชาติไทยจริง

ที่มา https://sbpolice.go.th/