วันที่นำเข้าข้อมูล 24 ต.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 8 พ.ค. 2567

| 7,964 view

หนังสือเดินทางไทย

 

ผู้ขอหนังสือเดินทางจะต้องมาทำหนังสือเดินทางด้วยตนเอง และหนังสือเดินทางจะถูกผลิตที่กรมการกงสุล กรุงเทพฯ  จึงต้องเผื่อเวลาสำหรับการส่งเล่มมาที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ประมาณ 4-6 สัปดาห์ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาส่งอีเมลมาที่ [email protected]

***หมายเหตุ*** 

  1. กรณีหนังสือเดินทางสูญหาย ต้องมีใบแจ้งความจากตำรวจ (ในใบแจ้งความให้มีการระบุว่าหนังสือเดินไทยหาย พร้อมระบุหมายเลขหนังสือเดินทางไทยที่สูญหาย) หรือกรอกแบบฟอร์มยืนยันหนังสือเดินทางหาย โดยขอได้จากเจ้าหน้าที่ในวันที่มาเข้ารับบริการ
  2. กรณีผู้ร้องเป็นผู้เยาว์ที่เกิดในต่างประเทศและมายื่นขอทำหนังสือเดินทางที่ไม่ใช่เล่มแรก ผู้ปกครองต้องเพิ่มชื่อผู้เยาว์เข้าทะเบียนบ้านที่ไทยก่อน และต้องมีเลขประจำประชาชน 13 หลักมายื่น
  3. ผู้ร้องที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีจะต้องให้ผู้ปกครองตามในสูติบัตรไทยระบุไว้มาแสดงตัว ณ สถานเอกอัครราชทูตเช่นกัน

 

เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)

  1. แบบคำร้องขอหนังสือเดินทางที่กรอกข้อมูลครบถ้วน 1 ใบ ดาวน์โหลดที่นี่
  2. แบบฟอร์มหนังสือยืนยันความถูกต้องที่กรอกข้อมูลครบถ้วน 1 ใบ ดาวน์โหลดที่นี่
  3. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน และสำเนา 1 ใบ
  4. บัตรประชาชนไทยตัวจริงที่มีอายุใช้งาน และสำเนา 1 ใบ (หากไม่มีบัตรประชาชนไทยให้ดู "หลักการพิจารณาการออกหนังสือเดินทาง" ด้านล่าง)
  5. สำเนาทะเบียนบ้านไทย 1 ใบ
  6. รูปถ่าย 1 ใบ
  7. เอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ เป็นต้น

ค่าธรรมเนียม (เตรียมให้ครบตามจำนวน และเป็นธนบัตร หรือ ชำระด้วยบัตร Bancontact)

  • 35 ยูโร สำหรับ หนังสือเดินทางอายุ 5 ปี
  • 50 ยูโร สำหรับ หนังสือเดินทางอายุ 10 ปี

 

เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)  

1. แบบคำร้องขอหนังสือเดินทางที่กรอกข้อมูลครบถ้วน 1 ใบ ดาวน์โหลดที่นี่

2. แบบฟอร์มหนังสือยืนยันความถูกต้องที่กรอกข้อมูลครบถ้วน 1 ใบ ดาวน์โหลดที่นี่

3. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน และสำเนา 1 ใบ

4. สำเนาสูติบัตรไทย 1 ใบ

5. บัตรประชาชนไทยตัวจริงที่มีอายุใช้งาน และสำเนา 1 ใบ (กรณีผู้ร้องอายุ 7 ปีเป็นต้นไปให้แสดงบัตรประชาชนไทย หากไม่มี จะต้องแสดงใบรับรองการศึกษาในเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น)

6. สำเนาทะเบียนบ้านไทย 1 ใบ

7. สำเนาทะเบียนสมรสของบิดา-มารดา

    7.1 หากมีสัญชาติไทย : ใช้บัตรประชาชนไทยตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ใบ

    7.2 หากไม่มีสัญชาติไทย : ใช้บัตรประชาชนท้องถิ่น/หนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ใบ

8. รูปถ่ายขนาด 3*5 ซม. 1 ใบ (หากเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี กรุณาเตรียมไฟล์ดิจิทัลมาด้วย)

9. เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

10. บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ บิดาและมารดาจะต้องลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่  หากไม่สามารถมาได้ต้องมีเอกสารมาแสดงดังนี้

      10.1 กรณีที่ผู้เยาว์อยู่กับบิดาหรือมารดาเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องมีหนังสือปกครองบุตร (ปค. 14) มาแสดง และ สำเนา 1 ชุด

      10.2 กรณีบิดาและมารดาหย่าให้นำใบหย่าและบันทึกการหย่าที่ระบุการให้อำนาจปกครองบุตรของผู้ปกครองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว และสำเนา 1 ชุด

      10.3 กรณีบิดาหรือมารดาเสียชีวิต ให้นำใบมรณบัตรมาแสดง และสำเนา 1 ชุด

      10.4 หรือหนังสือให้ความยินยอมจากบิดา/มารดา ฉบับจริง อายุไม่เกิน 6 เดือน พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนของบิดา/มารดา มาแสดง (ขอทำหนังสือให้ความยินยอมในประเทศไทยได้ที่อำเภอ/เขต กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ หรือ สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศที่ท่านพำนัก)

ค่าธรรมเนียม 35 ยูโร (เตรียมให้ครบตามจำนวนเป็นธนบัตร หรือชำระด้วยบัตร Bancontact)

 *ผู้เยาว์สามารถทำหนังสือเดินทางที่มีอายุ 5 ปีได้เท่านั้น*

-----------------------------------------------------------------------------------

***หลักการพิจารณาการออกหนังสือเดินทาง***

 

1. ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 7 ปีบริบูรณ์

     

      1.1 ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 7 ปีบริบูรณ์ 

  • ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว 
  • ยังไม่เคยมีหนังสือเดินทางไทย 
  • ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทย

คำตอบ =  สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางเล่มแรกได้เท่านั้น

      1.2 ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 7 ปีบริบูรณ์ 

  • ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว 
  • เคยมีหนังสือเดินทางไทยแล้ว 
  • ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทย

คำตอบทำหนังสือเดินทางเล่มต่อไปไม่ได้ จนกว่าจะแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทยก่อน

คำแนะนำ =  ให้แจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านก่อน หรือหากยังไม่มีโอกาสกลับไทย ให้มอบอำนาจให้ญาติในไทยแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทยแทน

(ขอให้ท่านสอบถามรายละเอียด ณ ที่ว่าการอำเภอในไทยว่าการแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านมีขั้นตอนอย่างไร และจะต้องใช้เอกสารอะไรไปยื่นบ้างนอกจากยื่นสูติบัตรไทย)

- หากที่ว่าการอำเภอฯ อนุญาตให้นำชื่อเข้าทะเบียนบ้านโดยการมอบอำนาจได้ ท่านสามารถทำหนังสือมอบอำนาจได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือส่งอีเมลสอบถามข้อมูลได้ที่ [email protected]

 

2. ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี

 

      2.1 ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี 

  • ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว 
  • ยังไม่เคยมีหนังสือเดินทางไทย 
  • ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทย
  • ยังไม่มีบัตรประชาชนไทย

คำตอบ  =  ท่านสามารถยื่นทำหนังสือเดินทางเล่มแรกได้เท่านั้น

หากจะทำเล่มต่อไปขอให้แจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย และทำบัตรประชาชนไทยใบแรกก่อน (บัตรประชาชนใบแรกทำได้ที่ประเทศไทยเท่านั้น)

 

       2.2 ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี 

  • ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว 
  • เคยมีหนังสือเดินทางไทยแล้ว 
  • ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทย 
  • ยังไม่เคยมีบัตรประชาชนไทยใบแรก

คำตอบ   =   ทำหนังสือเดินทางเล่มต่อไปไม่ได้

คำแนะนำ   =   ให้แจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย และทำบัตรประชาชนก่อน (ใบแรกทำในประเทศไทยได้เท่านั้น)

   

      2.3 ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี 

  • ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว 
  • เคยมีหนังสือเดินทางไทยแล้ว 
  • มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยแล้ว 
  • ยังไม่เคยมีบัตรประชาชนไทย 

***กรณีกำลังศึกษาในต่างประเทศ ยังกลับไปทำบัตรฯ ใบแรกในไทยไม่ได้

คำตอบ  =  สามารถยื่นทำหนังสือเดินทางใหม่ได้หากกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาอยู่ โดยต้องมีหนังสือรับรองจากสถานศึกษาที่ผู้ร้องกำลังศึกษาอยู่ประกอบกับคำร้อง

  • ขอให้หนังสือรับรองจากสถานศึกษาเป็นภาษาอังกฤษหรือไทย แต่ถ้าหากเป็นภาษาอื่นต้องแปลโดยนักแปลสาบานตน (Sworn Translator) ก่อนแล้วนำหนังสือรับรองจากสถานศึกษาดังกล่าวพร้อมคำแปลไปรับรองนิติกรณ์ (Legalisation) ที่กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงการต่างประเทศเบลเยียม/ลักเซมเบิร์ก (Ministry of Foreign Affairs Belgium/Luxembourg)

คำแนะนำ =  การแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย หากยังไม่มีโอกาสกลับไทย สามารถมอบอำนาจให้ญาติในไทยแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านแทนโดยขอให้ท่านสอบถามรายละเอียดที่อำเภอในไทยว่าการแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านมีขั้นตอนอย่างไรและจะต้องใช้เอกสารอะไรไปยื่นบ้างนอกจากยื่นสูติบัตรไทย

  • การทำหนังสือมอบอำนาจสามารถยื่นขอทำได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือส่งอีเมลสอบถามได้ที่อีเมลดังนี้ [email protected]

 

      2.4 ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี 

  • ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว 
  • เคยมีหนังสือเดินทางไทยแล้ว
  • มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยแล้ว 
  • มีบัตรประชาชนไทยแล้ว แต่ยังมีคำนำหน้าชื่อในบัตรเป็น ด.ช. / ด.ญ. (กรณีที่ผู้ร้องมีอายุ 15 ปีเป็นต้นไป)

คำตอบ  =  ต้องนัดหมายทำบัตรประชาชนใหม่ก่อน แล้วจึงสามารถยื่นคำร้องทำหนังสือเดินทางใหม่ได้

 

3. บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป

 

      3.1 บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป 

  • ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว 
  • เคยมีหนังสือเดินทางไทยแล้ว 
  • ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทย
  • ยังไม่เคยมีบัตรประชาชนไทย

คำตอบ  =  ทำหนังสือเดินทางไม่ได้ จนกว่าจะแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย และทำบัตรประชาชนไทยใบแรกก่อน (บัตรประชาชนไทยใบแรกทำได้ในไทยเท่านั้น)

หากท่านประสงค์หรือมีความจำเป็นเดินทางไปประเทศไทยให้ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ที่ [email protected] ราว 2-3 สัปดาห์ก่อนการเดินทาง 

 

      3.2  บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป 

  • ที่มีสูติบัตรไทยแล้ว 
  • คยมีหนังสือเดินทางไทยเล่มแรกแล้ว 
  • มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยแล้ว 
  • แต่ยังไม่เคยมีบัตรประชาชนไทย

คำตอบ  =  ยังทำหนังสือเดินทางไม่ได้ จนกว่าจะทำบัตรประชาชนไทยใบแรกก่อน (บัตรประชาชนไทยใบแรกทำได้ในไทยเท่านั้น)

หากท่านประสงค์หรือมีความจำเป็นเดินทางไปประเทศไทยให้ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ที่ [email protected] ราว 2-3 สัปดาห์ก่อนการเดินทาง

 

      3.3  บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป 

  • เพิ่งขอจดสูติบัตร (ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ) 
  • ยังไม่เคยมีหนังสือเดินทางไทย 
  • ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทย 
  • ยังไม่เคยมีบัตรประชาชนไทย

คำตอบ =  สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางเล่มแรกมีอายุ 5 ปี ได้เท่านั้น

คำแนะนำ = สำหรับการทำหนังสือเดินทางเล่มต่อไป ต้องแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านไทย และทำบัตรประชาชนก่อน (ใบแรกทำในประเทศไทยได้เท่านั้น)

 

      3.4 บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป 

  • เคยขอหนังสือเดินทางแล้วหลายครั้ง 
  • มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยแล้ว 
  • บัตรประชาชนไทยหมด

คำตอบ =  ให้ทำบัตรประชาชนใหม่ก่อน และจึงยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง

คำแนะนำ  = ท่านสามารถนัดหมายทำบริการบัตรประชาชนและหนังสือเดินทางในวันเดียวกันได้ โดยทำนัดหมายในระบบออนไลน์ทั้งเพื่อทำบัตรประชาชนใหม่และหนังสือเดินทางใหม่แยกกัน

 

      3.5  บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป 

  • เคยขอหนังสือเดินทางแล้วหลายครั้ง 
  • มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยแล้ว 
  • บัตรประชาชนไทยหมดอายุมานาน และในฐานข้อมูลราษฎร์ไม่แสดงภาพใบหน้าของผู้ร้อง

คำตอบไม่ได้สามารถทำได้ ต้องทำบัตรประชาชนไทยใหม่ที่ไทยก่อน